- สนสุราษฎร์ธานี เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชเสริมอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
หลายโรงเรียนพยายาม เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชผักสวนครัวเสริมโครงการอาหารกลางวันเด็กเพื่อคุณค่าทางโภชนาการ
จากปัญหาการทุจริตโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ตามที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ แต่ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่ ที่นอกจากไม่มีการทุจจริตแล้วแต่ยังพยายาม ผลิตวัตถุดิบ เพื่อช่วยเสริมในการปรุงอาหารกลางวัน เพิ่มคุณค่าทางอาหารให้แก่เด็กเรียน ด้วยการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ไว้เป็นอาหารเสริมให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากเงินอุดหนุนรายละ 20 บาทแล้ว อย่างเช่นที่โรงเรียนกำสนประชาสรรค์ ตำบลคลองสระอำเภอกาญจนดิษฐ์สุราษฎร์ธานี ได้เลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ที่มีบริษัทมาลงทุนให้ในปีแรกจากนั้นก็จะต้องพึ่งพาตนเอง ปัจจุบันสามารถเก็บไข่ไก่ได้วันละ 150 ฟอง ใช้ปรุงอาหารบ้าง จำหน่ายให้กับผู้ปกครองบ้าง ส่วนเงินที่ได้ก็รวบรวมเป็นกองทุนไว้ใช้กับโครงการอาหารกลางวันได้อีก
นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว มูลสัตว์เหล่านี้ยังสามารถนำไป ใช้ในการปลูกผักสวนครัว ภายในโรงเรียน เพื่อนำมาปลุงอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนทั้งหมดภายในโรงเรียน เช่นต้นชะอม แตงกวา หน่อไม้ และเห็ดนางฟ้า ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาปรุงอาหารได้ทั้งสิ้น รวมถึงมะนาวไร้เม็ดอีกกว่า 50 ต้น ที่แต่ละต้นเจริญงามด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ทั้งสิ้น จนกระทั่งมีคำขวัญว่า ไข่ไก่สาว นาวไร้เม็ด เห็ดดอกใหญ่ หน่อไผ่หวาน ลานหมูหลุม กลุ่มพืชผัก
โดยนางศิริรัตัตน์ เสียงเพราะ ครูในโรงเรียน บ้านกำสนกล่าวว่า โครงการต่างๆที่ทำขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อช่วยเจือจุนในโครงการอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนส่วนที่เหลือก็จำหน่ายเก็บไว้เป็นกองทุนต่อไป
ด้านนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีกล่าวว่า ได้ลงมาดูในโรงเรียนที่ตั้งไจทำในเรื่องของโครงการอาหารกลางวันให้กับเด็กด้วยการเลี้ยงสัตว์ปลูกพืชเสริมจากเงินที่ได้รับจากท้องถิ่น ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถจำหน่ายได้ รายได้เสริมนำมาจุนเจือโครงการอาหารกลางวันให้แก่เด็ก เพื่อการกินอิ่มและมีคุณค่าทางโภชนาการ
ส่วนที่โรงเรียนนิคมสร้างตนเองก็เช่นกันทางโรงเรียนโดยนายอโณชัย วิเศษกลิ่น ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ใช้พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ของโรงเรียนปลูกผักบุ้ง ฟักเขียว ถั่วพลู มะเขือ และกล้วยหอมไว้ เป็นวัตถุดิบในการทำอาหารกลางวันให้กับเด็ก เสริมเพิ่มเติมจากเงินที่ได้รับการอุดหนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รายละ 20 บาท ซึ่งใช่ว่าจะเพียงพอเสียทีเดียว ทางโรงเรียนจะต้องดำเนินการหาวัตถุดิบเสริมเพิ่มเติมให้เพียงพอแก่การบริโภคอย่างมีคุณภาพสำหรับเด็กนักเรียนของโรงเรียนอีกด้วย